แบตเตอรี่รถยนต์ ทำไมสำคัญมาก

 แบตเตอรี่ทำหน้าที่อะไร


แบตเตอรี่รถยนต์มีหน้าที่หลัก ๆ คือ การเป็นแหล่งพลังงานให้กับรถยนต์และอุปกรณ์ไฟฟ้าภายในรถ โดยจะเป็นแหล่งพลังงานหลักในขณะที่รถยนต์ไม่ได้ทำงาน (ดับเครื่องอยู่) ซึ่งในการสตาร์ตรถจำเป็นต้องใช้กระแสไฟฟ้าจากแบตเตอรี่ด้วย และหลังจากที่รถสตาร์ตติดแล้ว เครื่องยนต์และอุปกรณ์ไฟฟ้าต่าง ๆ ภายในรถจะใช้กระแสไฟฟ้าที่ผลิตจากไดชาร์จ (หรืออาจเรียกว่า อัลเตอร์เนเตอร์) แทน โดยมีแบตเตอรี่เป็นแหล่งพลังงานสำรองเพื่อให้กระแสไฟฟ้าคงที่และต่อเนื่องเพื่อความปลอดภัย

ด้วยเหตุนี้การใช้กระแสไฟฟ้าในขณะที่รถดับเครื่องอยู่ เช่น จอดรถแล้วเผลอเปิดไฟหน้ารถทิ้งไว้นาน ๆ จนทำให้แบตเตอรี่หมด เนื่องจากเป็นการใช้พลังงานจากแบตเตอรี่ล้วน ๆ โดยที่ไม่มีไดชาร์จผลิตกระแสไฟฟ้าให้ และเมื่อแบตเตอรี่หมดก็จะทำให้ไม่สามารถสตาร์ตรถได้นั่นเอง จึงจำเป็นต้องใช้สายพ่วงกับแบตเตอรี่ของรถคันอื่นแทน

นอกจากนี้ถ้าหากไดชาร์จเริ่มเสื่อมสภาพ ทำให้มีประสิทธิภาพในการผลิตกระแสไฟฟ้าได้ไม่มากพอ รถยนต์และเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในรถจึงจำเป็นต้องใช้พลังงานจากแบตเตอรี่แทน ซึ่งการใช้พลังงานแบตเตอรี่มาก ๆ ก็จะส่งผลให้อายุการใช้งานของแบตเตอรี่สั้นลงด้วย

แบตเตอรี่รถยนต์มีกี่ชนิด แตกต่างกันอย่างไร สำหรับในปัจจุบัน แบตเตอรี่รถยนต์ สามารถแบ่งออกเป็น 4 ประเภทใหญ่ ๆ ได้แก่ แบตเตอรี่แบบน้ำ (Conventional Battery) แบตเตอรี่แบบกึ่งแห้ง (Maintenance Free : MF) แบตเตอรี่แบบแห้ง (Sealed Maintenance Free : SMF) และแบตเตอรี่แบบไฮบริด ซึ่งแบตเตอรี่แต่ละชนิดก็จะมีลักษณะการใช้งานและคุณสมบัติ

แบตเตอรี่แห้ง แบตเตอรี่น้ำ แบตเตอรี่กึ่งแห้ง ต่างกันยังไง

แบตเตอรี่ คือชิ้นส่วนที่เป็นเสมือนที่เก็บพลังงานสำรองของรถยนต์ ทำหน้าที่จ่ายไฟฟ้าในการสตาร์ตเครื่องยนต์ รวมถึงระบบวงจรไฟฟ้าอื่น ๆ และผู้ใช้รถทุกคนน่าจะทราบกันดีว่าเจ้าแบตเตอรี่นั้นเป็นอุปกรณ์ที่มีอายุการใช้งาน เมื่อเริ่มพบอาการอย่างเช่น รถเริ่มสตาร์ตติดยาก, ดวงไฟต่าง ๆ ไม่สว่างเท่าเดิม, กระจกไฟฟ้าเลื่อนขึ้น-ลงช้ากว่าปกติ นั่นเป็นการส่งสัญญาณเตือนเราในเบื้องต้นแล้วว่า ใกล้ได้เวลาเปลี่ยนแบตเตอรี่ลูกใหม่แล้ว

แล้วเราจะใช้แบตเตอรี่แบบไหนดี นั่นย่อมเป็นคำถามที่ผู้ใช้รถส่วนใหญ่อยากรู้ ซึ่งหากลองเดินไปถามที่ร้านจำหน่ายแบตเตอรี่ใกล้บ้านก็อาจจะได้คำตอบและข้อมูลเรื่องแบตเตอรี่จากผู้ขาย และรวมถึงน่าจะต้องเจอก็คือคำถามกลับมาพร้อมกันด้วยว่าต้องการใช้ แบตเตอรี่แห้ง หรือ แบตเตอรี่น้ำ แบตเตอรี่แห้ง หรือที่เรียกกันสั้น ๆ ว่า แบตฯ แห้ง และ แบตเตอรี่น้ำ หรือ แบตฯ น้ำ หรือ แบตฯ เปียก คือชนิดของแบตเตอรี่รถยนต์ที่มีจำหน่ายอยู่ทั่วไปในปัจจุบันนี้ โดยนอกจากทั้งสองแบบนี้แล้ว ยังมีแบตเตอรี่อีก 2 ชนิดที่เรียกว่า แบตเตอรี่กึ่งแห้ง และ แบตเตอรี่ไฮบริด อีกด้วย ซึ่งแบตเตอรี่แต่ละชนิดแต่ละแบบ ก็จะมีลักษณะการใช้งานและคุณสมบัติที่แตกต่างกันไป

แบตเตอรี่น้ำ หรือ แบตเตอรี่ธรรมดา คือแบตเตอรี่ชนิดตะกั่วกรด ส่วนผสมภายในแบตเตอรี่นั้นประกอบด้วยโลหะผสมระหว่างตะกั่วกับพลวง แบตเตอรี่ชนิดน้ำนั้นเหมาะสำหรับคนที่มีเวลาในการดูแลรถพอสมควร เพราะต้องหมั่นตรวจสอบระดับน้ำกลั่นและคอยเติมอยู่สม่ำเสมอ เพื่อให้แบตเตอรี่น้ำนั้นอยู่ในสภาพที่พร้อมใช้งานตลอดเวลา ข้อดี มีความทนทานต่อการปะจุไฟเกินและคายประจุ มีอายุที่ใช้งานค่อนข้างนาน และที่สำคัญราคาถูก ข้อเสีย ต้องคอยตรวจสอบระดับน้ำกลั่นก่อนการใช้งานอยู่เสมอ อาจจะสัปดาห์ละครั้งขึ้นอยู่กับการใช้งาน และหากมีการเคลื่อนย้ายตัวแบตเตอรี่ต้องระมัดระวังสารละลายที่อาจรั่วไหลออกมาได้

แบตเตอรี่กึ่งแห้ง หรือ แบต MF เป็นแบตเตอรี่ที่ยังมีรูให้สามารถเติมน้ำกลั่นได้ แบตเตอรี่กึ่งแห้งนั้น เป็นแบตเตอรี่ที่ยังต้องดูแลอยู่เสมอ แต่อาจไม่ต้องดูแลบ่อยเท่ากับแบตเตอรี่น้ำ โดยหมั่นตรวจสอบระดับน้ำกลั่นปีละ 1-2 ครั้งเท่านั้น เนื่องจากน้ำกรดภายในแบตเตอรี่กึ่งแห้งนั้นจะเข้มข้นกว่าน้ำกรดในแบตเตอรี่ชนิดน้ำมาก ทำให้ระเหยได้ช้ากว่า ข้อดี ไม่ต้องตรวจเช็กหรือคอยเติมน้ำกลั่นบ่อยเหมือนกับแบตเตอรี่น้ำ เพราะภายในแบตเตอรี่มีการป้องกันการระเหยของน้ำกลั่นที่แน่นหนาพอสมควร ข้อเสีย แม้จะไม่ต้องเติมน้ำกลั่นบ่อยแต่ก็ต้องหมั่นตรวจเช็กอยู่สม่ำเสมอ อายุการใช้งานอาจไม่นานเท่าแบตเตอรี่น้ำ

แบตเตอรี่แห้ง เป็นแบตเตอรี่ที่ได้รับความนิยมอย่างมากในปัจจุบัน เนื่องจากแบตเตอรี่แห้งนั้นไม่จำเป็นต้องดูแลอะไรเลย อาจจะเหมาะกับคนในยุคปัจจุบันเพราะไม่ต้องคอยเติมน้ำกลั่น และแบตเตอรี่แห้งนั้นสามารถปล่อยทิ้งไว้ในสภาพไม่มีประจุไฟได้นานกว่าแบตเตอรี่ธรรมดาโดยไม่ต้องชาร์จไฟเพื่อกระตุ้นแบตฯ ข้อดี เหมาะกับผู้ที่ไม่ค่อยมีเวลาในการดูแลรถยนต์ ไม่ต้องตรวจเช็กบ่อย ๆ ไม่ต้องเติมน้ำกลั่น แบตเตอรี่ไม่หมด แม้ไม่ได้ใช้รถเป็นเวลานาน ข้อเสีย มีราคาที่ค่อนข้างสูงกว่าแบตเตอรี่น้ำ และ แบตเตอรี่กึ่งแห้ง และที่ตัวแบตเตอรี่จะมีรูระบายอากาศ (รูหายใจ) ที่ค่อนข้างเล็กซึ่งอาจอุดตันได้ง่ายและส่งผลให้เกิดปัญหาแรงดันภายในแบตเตอรี่ได้อีกด้วย


แบตเตอรี่ไฮบริด คือ แบตเตอรี่ที่ได้รับการพัฒนามาจากแบตเตอรี่น้ำ ภายในตัวแบตเตอรี่นั้นจะประกอบด้วยโลหะผสมระหว่างตะกั่วกับแคลเซียมเฉพาะแผ่นธาตุลบ เพื่อเป็นการแก้ไขข้อเสียของแบตเตอรี่น้ำที่มีการระเหยของน้ำกลั่นที่สูงมาก ซึ่งแบตเตอรี่ไฮบริดนี้ จะมีอัตราการระเหยของน้ำกลั่นน้อยกว่าแบตเตอรี่รุ่นธรรมดามาก แบตเตอรี่ไฮบริดมักใช้กับรถที่ใช้งานหนัก ๆ เช่น รถบรรทุก รถโดยสาร หรือ รถรับจ้าง เป็นต้น ข้อดี มีการระเหยของน้ำกลั่นน้อยกว่าแบตเตอรี่รุ่นธรรมดามาก ทำให้สามารถใช้งานได้อย่างยาวนาน ข้อเสีย มีราคาที่สูงมาก มักใช้กับรถขนาดใหญ่

แบตเตอรี่แต่ละชนิดต่างก็มีข้อดี-ข้อเสียที่แตกต่างกันออกไป ซึ่งคงต้องขึ้นอยู่กับความต้องการของผู้ใช้รถแล้วว่าจะเลือกใช้แบบไหนดี หากต้องการแบตเตอรี่ที่ทนทาน ราคาถูก แบตเตอรี่น้ำ ดูจะตอบโจทย์ข้อนี้ที่สุด แต่ต้องแลกกับการที่เราต้องหมั่นตรวจสอบดูแลระดับน้ำกลั่นเป็นประจำอย่างสม่ำเสมอ ส่วนใครที่สตาร์ตรถแล้วขับออกไปทำงานทันที ไม่มีเวลาจะมาตรวจเช็กอะไรบ่อย ๆ และไม่เกี่ยงเรื่องราคา แบตเตอรี่แบบแห้ง เหมาะกับคุณมากที่สุด ไม่ต้องเติมน้ำกลั่น ไฟไม่หมดแม้ไม่ค่อยได้ใช้รถ แต่อาจจะต้องเสียเงินมากขึ้นอีกหน่อยเพื่อแลกกับความสบาย อย่างไรก็ตามผู้ใช้รถก็ควรศึกษาหาข้อมูลเพิ่มเติมหรือสอบถามจากผู้รู้ว่ารถของแต่ละท่านเหมาะสำหรับแบตเตอรี่แบบไหนต่อไป

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ความรู้แบตเตอรี่รถยนต์ ปี 2023

8 รุ่น แบตเตอรี่รถยนต์ ปี 2023